ขนมไทย
ขนมใส่ไส้

ขนมใส่ไส้ คืออะไร

ขนมใส่ไส้ หรือ ขนมสอดไส้ (Steamed flour with coconut filling) เป็นขนมไทยโบราณ มีลักษณะเป็นขนมที่ใช้แป้งข้าวเหนียวขาวและแป้งข้าวเหนียวดำ ห่อหุ้มไส้ข้างใน ทำจากมะพร้าวเคี่ยวน้ำตาล หยอดด้วยแป้งข้าวเจ้า กะทิ และเกลือ ที่กวนสุก ไส้ขนม แล้วห่อด้วยใบตองให้เป็นทรงสูงคาดด้วยทางมะพร้าว จะได้ขนมที่มีกลิ่นหอม ไส้หวาน เค็มมันด้วยกะทิที่ข้นมัน

เนื่องจากต้องกวนไส้ กวนกะทิ และนำไปนึ่งให้สุก ซึ่งจะผ่านความร้อนถึง 3 ครั้ง คนโบราณจึงมักเรียกขนมนี้อีกอย่างหนึ่งว่า ขนม 3 ไฟ สำหรับที่มาที่ไป 

ขนมใส่ใส้ ที่แน่ชัดนั้นไม่ปรากฏ แต่คาดว่าน่าจะเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านในครัวเรือนที่ปลูกต้นมะพร้าวจำนวนมาก เมื่อเหลือจากรับประทานในชีวิตประจำวันแล้ว ขนมค่อม จึงได้นำมาทำเป็นขนมไว้รับประทาน และจำหน่ายยังชุมชนอื่น ๆ ใส่ไส้ โดยชุมชนที่ขึ้นชื่อเรื่องการทำขนมสอดไส้ในปัจจุบัน ก็คือ ชุมชนตำบลหนามแดง อ.เมืองฉะเชิงเทรา จ.ฉะเชิงเทรา

ที่มาของชื่อขนมใส่ไส้

ขนมใส่ไส้

คนโบราณมักจะเรียก ขนมใส่ไส้ หรือขนมสอดไส้ว่า ขนม 3 ไฟ ที่มาของขนม 3 ไฟ คือการทำให้สุก 3 ครั้ง

  • ไฟที่ 1 เป็นการกวนไส้ วิธีทำขนมสอดไส้ การกวนไส้ก็จะประกอบไปด้วย มะพร้าวทึนทึกกับน้ำตาล มะพร้าวทึนทึกคือมะพร้าวที่ไม่แก่เกินไปไม่อ่อนเกินไป แล้วจึงนำไปอบกับควันเทียน
  • ไฟที่ 2 คือการนำกะทิมากวนเป็นการสุกครั้งที่สอง
  • ไฟที่ 3 คือการนำทั้งสองมาห่อใส่ในใบตอง แล้วก้นำไปนึ่ง เป็นการสุกสามไฟ

ขนมใส่ไส้ สำหรับงานมงคล

ถ้าจะนำ ขนมใส่ไส้ มักใช้ในงานพิธีหมั้น เพื่อเป็น 1 ในขนม 9 อย่าง ที่ใส่ในขันหมากโทคู่ขันหมากเอก ในขบวนแห่ขันหมากเพื่อไปสู่ขอเจ้าสาว จะต้องใส่ไส้ 2 เม็ดคู่กันไป จึงจะถือว่าคู่รักจะรักใคร่ กลมเกลียว อยู่กันยืดยาวนาน เป็นคู่กันไปตลอดจนแก่เฒ่าขนมสอดใส้ ถึงนิยมใช้ในงานมงคล แต่มาในสมัยปัจจุบันนี้ คงน่าจะไม่ค่อยมีให้เห็นแล้ว เพราะคนรุ่นใหม่ๆ ขนมใส่ไส้ ไม่ค่อยถือกันเหมือนคนโบราณ เลยไม่นิยมใช้ในงานมงคลเหมือนคนโบราณสมัยก่อน ขนมใส่ไส้เป็นขนมโบราณ สมัยนี้มีก็มีขายทั่วไป ยังหาซื้อทานได้อยู่

ส่วนผสมและวิธีทำขนมใส่ไส้

ส่วนผสม ขนมใส่ไส้

  • มะพร้าวขูดขาว 2+1/2 ถ้วย
  • น้ำตาลมะพร้าว 1+1/2 ถ้วย
  • น้ำต้มสุก
  • เทียนสำหรับอบควันเทียน (ใช้หรือไม่ใช่ก็ได้ตามความสะดวก)
  • แป้งข้าวเหนียว 2 ถ้วย
  • น้ำเย็น 1/3 ถ้วย (หรือน้ำใบเตย, น้ำอัญชันแช่เย็น หากต้องการเพิ่มสีสัน)
  • แป้งข้าวเจ้า 1/3 ถ้วย
  • เกลือป่น 2 ช้อนชา
  • หัวกะทิ 3+1/3 ถ้วย
ขนมใส่ไส้

วิธีทำ

  1. ขนมไส่ใส้ นำใบตองที่สำหรับห่อมาตัดเป็น 2 ขนาด ฉีกใบตองชั้นนอก 5 นิ้ว และสำหรับชั้นใน 4 นิ้ว และนำมาตัดมุมให้เป็นทรงวงรี เช็ดให้สะอาด และนำไปลนไฟเล็กน้อยเพื่อให้ห่อขนมได้ง่าย
  2. นำมะพร้าวทึนทึกที่ขูดเป็นเส้นยาว เกลือป่น และน้ำตาลปี๊บ ลงไปกวนในกระทะทองเหลือง ใช้ไฟอ่อน กวนไปเรื่อยๆ จนครบ 20 นาที จนส่วนผสมแห้ง จากนั้นก็ปิดไฟพักไว้ให้เย็น
    ผสมแป้งข้าวเหนียวและน้ำใบเตยเข้าด้วยกัน นวดแป้งจนเริ่มเป็นก้อน เสร็จแล้วให้คลุมด้วยพาสติกแรป
  3. วิธีทำขนมใส่ไส้ นำกะทิ 1/4 ของกะทิทั้งหมดผสมกับแป้งข้าวเจ้า เกลือป่น กลิ่นมะลิ ลงไปในกระทะ คนให้เข้ากันจนแป้งไม้จับตัวกันเป็นเม็ด แล้วค่อยเติมกะทิส่วนที่เหลือลงไป เปิดไฟอ่อนๆ และคนไปเรื่อยๆ จนกะทิเหนียวข้น ปิดไฟพักไว้ให้เย็น
  4. เมื่อตัวไส้เริ่มเย็นดีแล้ว ปั้นไส้ให้เป็นก้อนกลมๆ ขนาด 1 นิ้ว จนหมด และปั้นตัวแป้งเป็นก้อนกลมขนาดใหญ่กว่าตัวไส้เป็น 1 นิ้วครึ่ง แผ่แป้งให้แบนวางไส้ลงตรงกลาง และห่อไส้ขนมให้มิด
  5. เตรียมใบตองสำหรับห่อ นำใบตอง 2 ขนาดที่ตัดไว้เป็นวงรีมาประกบกัน นำหน้านวลทั้ง 2 แผ่น ชนกัน นำขนมที่ปั้นไว้วางลงบนใบตอง และราดด้วยน้ำกะทิ 1 ช้อนโต๊ะ ขนมคอม และพับใบตองให้เป็นทรงสูง คาดทับด้วยใบมะพร้าวและคาดด้วยไม้กลัด
  6. นึ่งในน้ำเดือดจัดประมาณ 30 นาที พักไว้ให้เย็นก่อนเสิร์ฟ



Credit : Thaidessertss.com

อ่านบทความเพิ่มเติม : ขนมวุ้น