ขนมไทย
บุหลันดั้นเมฆ

ที่มาของขนมโบราณ บุหลันดั้นเมฆ

บุหลันดั้นเมฆ กำเนิดในสมัยรัชกาลที่ 2 บุหลันดั้นเมฆ ประวัติ  โดยได้รับแรงบันดาลใจจากเพลงพระราชนิพนธ์“บุหลันเลื่อนลอย” ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 บุหลันดั้นเมฆ คือ ส่วนกลางตัวขนมที่ทำจากไข่แดงสื่อถึงดวงจันทร์ในเวลากลางคืน และส่วนสีฟ้าของตัวขนมก็เปรียบเหมือนสีของก้อนเมฆยามค่ำคืน 

นอกจากนั้น ขนมไทยบุหลันดั้นเมฆ  ยังใช้เสี่ยงทายเรื่องหน้าที่การงาน  บุหลันดั้นเมฆ ความหมาย โดยทำนายจากการหยอดส่วนของไข่แดงหรือดวงบุหรัน ถ้าออกมากลมสวยงาม อาจได้เลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง แต่ถ้าบิดเบี้ยวไม่สวยแสดงว่าต่อไปหน้าที่การงานจะไม่ดี

บุหลันดั้นเมฆ ขนมโบราณหายากในปัจจุบัน

บุหลันดั้นเมฆ

บุหลันดั้นเมฆ ขนมไทยโบราณที่หาทานได้ยากมากๆในสมัยปัจจุบัน ขนมที่ต้องใส่ถ้วยตะไลในการนึ่งในลังถึง มีสีม่วงแบบสวยๆของดอกอัญชัน บุหลันดั้นเมฆ ร้าน ที่คนไทยชอบนำมาใส่ในสีของขนมไทยๆหลายชนิดทีเดียว ขนมบุหลันดั้นเมฆ ตรงกลางเราจะหยอดเป็นสังขยาไข่หวานๆสีไข่สวยๆ ที่ได้ชื่อว่าบุหลันดั้นเมฆก็คงมาจากรูปร่างหน้าตาที่มีสังขยาตรงกลางถ้วยของขนมนี่เอง

วัตถุดิบและขั้นตอนวิธีการทำขนมบุหลันดั้นเมฆ

วัตถุดิบ

  • แป้งข้าวเจ้า 60 กรัม
  • แป้งเท้ายายม่อม 5 กรัม 
  • น้ำตาลทราย 75 กรัม
  • น้ำดอกอัญชัน 175 กรัม
  • ไข่แดงของไข่ไก่ 2 ฟอง 
  • กลิ่นมะลิ 5 กรัม 

ขั้นตอนการทำ วิธีทำบุหลันดั้นเมฆ

บุหลันดั้นเมฆ

 1 : เตรียมนึ่งถ้วยตะไล + ทำบุหลันดั้นเมฆ บุหลันดั้นเมฆ วิธีทํา ใส่น้ำในลังถึง ประมาณ ½ ของลังถึง ต้มจนน้ำเริ่มเดือด นำถ้วยตะไลเรียงกระจายลงในลังถึง ปิดฝา นึ่งประมาณ 10 นาทีจนถ้วยตะไลร้อนจัด ๆ เตรียมไว้ นำแป้งข้าวเจ้า และแป้งเท้ายายม่อมมาผสมรวมให้เข้ากัน ทยอยเติมน้ำอัญชันลงไป คนให้แป้งไม่เป็นเม็ด เทน้ำตาลทราย และกลิ่นมะลิลงไป คนให้ทุกอย่างละลายเข้ากัน ในชามผสมเล็ก ใส่ไข่แดงที่เตรียมไว้ลงไป ตีให้เข้ากันแล้วพักไว้ก่อน

  • TIPS : – อย่าวางถ้วยตะไลทับรูลังถึง หรืออย่าเรียงถ้วยให้แน่นเกินไป เพราะไม่ฉะนั้นไอน้ำจะลอยขึ้นมาไม่ได้

2 : นึ่งขนม บุหลัน ตักน้ำแป้งที่เตรียมไว้หยอดลงในถ้วยตะไลที่ร้อนจัด ประมาณ ¾ ของถ้วยตะไล นำไปนึ่งด้วยไฟแรง ประมาณ 7 – 10 นาที นําไข่แดงหยอดลงตรงรอยบุ๋มตรงกลางให้เต็ม นึ่งต่อ 3 – 5 นาที

  • TIP : – ตอนเปิดฝาลังถึงเพื่อใส่ไข่แดงระวังอย่าให้น้ำที่ฝาลังถึงหยดลงไปบนหน้าขนมนะคะ 

3 : เมื่อนึ่งจนบุหลันดั้นเมฆสุก ให้นำขนมทั้งถ้วยมาหล่อน้ําเย็นไว้ เมื่อถ้วยตะไลหายร้อนแล้ว แคะขนมออกจากถ้วย นำบุหลันดั้นเมฆที่แคะไว้แล้วมาจัดเสิร์ฟใส่จานที่รองด้วยใบตอง เพียงเท่านี้ “บุหลันดั้นเมฆ” ก็พร้อมรับประทานแล้วค่า 

รสชาติขนมบุหลันดั้นเมฆ

รสชาติของ บุหลันดั้นเมฆ มีความมันจากกะทิสดๆ มีรสหวานจากน้ำตาลมะพร้าวและหอมจากกลิ่นควันเทียน ขนมชาววัง  กลิ่นควันเทียนนี้ได้มาจากการอบ บุหลันดั้นเมฆ รสชาติ  เมื่อความหวาน มันและหอมมาอยู่ด้วยกันในอัตราส่วนที่พอเหมาะ ความอร่อยแบบไทยๆก็เกิดขึ้นอย่างมิต้องสงสัย สีออกม่วงนั้นได้มาจากดอกอัญชัน ส่วนผสมอื่นๆ มีแป้ง ไข่ น้ำตาล และกะทิ



Credit : Thaidessertss.com

อ่านบทความเพิ่มเติม : ขนมครก